ความหมายของทัศนธาตุ
ทัศนธาตุ หมายถึง
ธาตุแห่งการมองเห็นหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญในงานศิลปะหรือทัศนศิลป์ได้แก่
จุด เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น
ซึ่งเราสามารถนำส่วนประกอบแต่ละอย่ามาสร้างเป็นงานศิลปะได้ในหลายรูปแบบ
ซึ่งก็จะให้ความรู้สึกในการมองเห็นที่แตกต่างกันไป ทัศนธาตุ สามารถสร้างอารมณ์ต่าง
ๆ ให้กับคนดู จึงเป็นความรู้พื้นฐาน นับตั้งแต่ จุด เส้น รูปร่าง- รูปทรง แสง เงา
น้ำหนักอ่อน – แก่ สี พื้นผิว มักมีปรากฏอยู่ในความงามอันละเอียดอ่อนของธรรมชาติ
ทั้งสิ้น
ฉะนั้นการรู้จักสังเกตธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ
ตัวและการรู้จักเลือกสรรส่วนประกอบจากธรรมชาติมาจัดองค์ประกอบทางศิลปะนั้น
จึงเป็นวิธีที่ง่ายและดีที่สุดในการสร้างสรรค์งาน
องค์ประกอบของทัศนธาตุ
1.
จุด (Dot) หมายถึง รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฎที่พื้นผิว ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง
ๆ เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน
และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด
จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง
รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ เช่น นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น และการนำจุดมาวาง
ให้เหมาะสม ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้
2. เส้น (Line) เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้
เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์
เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะทุกแขนง
ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฎเป็นรูปภาพ
เส้น (Line) หมายถึง การนำจุดหลาย ๆ
จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด
เขียน
ลาก ให้เกิดเป็นริ้วรอย
- เส้นนอน ให้ความรู้สึกกว้างขวาง เงียบสงบ
นิ่ง ราบเรียบ ผ่อนคลายสายตา
- เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกสูงสง่า มั่นคง
แข็งแรง รุ่งเรือง
- เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง เคลื่อนไหว
รวดเร็ว แปรปรวน
- เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนไหว สุภาพอ่อนโยน
สบาย นุ่มนวล เย้ายวน
- เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว การคลี่คลาย
ขยายตัว มึนงง
- เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา ให้ความรู้สึกรุนแรง กระแทกเป็นห้วง ๆ ตื่นเต้น
สับสนวุ่นวาย และการขัดแย้ง
- เส้นประ ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง ไม่มั่นคง
ไม่แน่นอน
เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น เส้นโค้งคว่ำลง
ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า ผิดหวัง
เสียใจ
แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น
ก็จะให้ความรู้สึกอารมณ์ดี เป็นต้น
3. รูปร่างและรูปทรงรูปร่าง (Shape)
หมายถึง เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน
สัตว์ และ พืช มีลักษณะเป็น 2 มิติ
มีความกว้าง และความยาว
รูปร่าง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- รูปร่างธรรมชาติ (Natural
Shape) หมายถึง รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น
คน สัตว์ และพืช
เป็นต้น
- รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical
Shape) หมายถึง
รูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีโครงสร้างแน่นอน เช่น
รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม และรูปวงกลม
เป็นต้น
- รูปร่างอิสระ (Free
Shape) หมายถึง
รูปร่างที่เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์ ให้ความรู้สึกที่เป็นเสรี ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนของตัวเอง เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม เช่น
รูปร่างของหยดน้ำ เมฆ และควัน
เป็นต้น
รูปทรง (Form) หมายถึง
โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฎแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ คือมีทั้งส่วนกว้าง ส่วนยาว
ส่วนหนาหรือลึก คือ จะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง มีเนื้อที่ภายใน มีปริมาตร
และมีน้ำหนัก
4.
น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value) หมายถึง จำนวนความเข้ม
ความอ่อนของสีต่าง ๆ
และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้
เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว-ดำ
ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ
เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง
5.
สี (Colour) หมายถึง สิ่งที่ปรากฎอยู่ทั่้วไปรอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย
เช่น ทำให้รู้สึกสดใส ร่าเริง
ตื่นเต้น หม่นหมอง หรือเศร้าซึมได้ เป็นต้น
สีและการนำไปใช้
5.1 วรรณะของสี (Tone) จากวงจรสีธรรมชาติ
ในทางศิลปะได้มีการแบ่งวรรณะของสีออกเป็น 2 วรรณะ
คือ
- สีวรรณะร้อน ( Warm Tone ) ได้แก่สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นหรือร้อน เช่น
สีเหลือง ส้มเหลือง ส้ม
ส้มแดง แดง ม่วงแดง
เป็นต้น
สีแดง กล้าหาญ
อันตราย เร้าใจ สะดุดตา
สีเหลือง สว่างที่สุด
บริสุทธิ์ แจ่มใส เลื่อมใส
สีส้ม ร้อนแรง สนุกสนาน
รื่นเริง เปรี้ยว
- สีวรรณะเย็น ( Cold Tone )ได้แก่ สีที่ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบาย เช่น
สีเขียว เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน
น้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน ม่วง
เป็นต้น
สีน้ำเงิน สงบ สุขุม
สันติภาพ ภูมิฐาน
สีเขียว ความหวัง สดชื่น
ชุ่มชื่น ร่มเย็น
สีม่วง ร่ำรวย
โอ่อ่า งอกงาม
สีขาว สะอาด
บริสุทธิ์ กระจ่างแจ้ง มั่นคง เบา
สีดำ เศร้า ความตาย หนัก
5.2 ค่าของสี (Value
of colour) หมายถึง สีใดสีหนึ่งทำให้ค่อย ๆ
จางลงจนขาวหรือสว่างและทำให้ค่อย ๆ เข้มขึ้นจนมืด
5.3 สีเอกรงค์ (Monochrome) หมายถึง สีที่แสดงอิทธิพลเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว หรือใช้เพียงสีเดียวในการเขียนภาพ
โดยให้ค่าของสีอ่อน กลาง แก่
คล้ายกับภาพถ่าย ขาว ดำ
5.4 สีส่วนรวม (Tonality) หมายถึง
สีใดสีหนึ่งที่ให้อิทธิพลเหนือสีอื่นทั้งหมด เช่น
การเขียนภาพทิวทัศน์
ปรากฎสีส่วนรวมเป็นสีเขียว สีน้ำเงิน
เป็นต้น
5.5 สีที่ปรากฎเด่น (Intensity)
5.6 สีตรงข้ามกันหรือสีตัดกัน (Contrast) หมายถึง สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงจรสีธรรมชาติ เช่น
สีแดงกับสีเขียว สีน้ำเงินกับสีส้ม สีม่วงกับสีเหลือง
น้ำหนักสี ( Tone ) หรือวรรณะของสี
หมายถึง ระดับความเข้มที่แตกต่างกันของสีหรือค่าความอ่อนแก่ของสี ไล่ระดับกันไป
เช่น ดำ – เทาเข้ม – เทากลาง – เทาอ่อน – ขาว
โทนก็มีผลต่อความรู้สึกคล้ายกับสีนั่นเอง เพียงแต่จะละเอียดอ่อนมากขึ้น
มีค่าความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์ เช่น
6.
บริเวณว่าง (Space)
หมายถึง
บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรงหรือเนื้อหาาในกาารจัดองค์ประกอบใดก็ตาม ถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย
การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างอ้าง โดดเดี่ยว
7.
พื้นผิว (Texture) หมายถึง
พื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น
พื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น