ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์
องค์ประกอบศิลป์ เป็นเรื่องที่ผู้เรียนศิลปะทุกคนต้องเรียนรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะนำไปใช้ได้ให้เกิดประสิทธิภาพในการออกแบบโครงสร้างหรือรูปร่างของภาพ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบต่างๆ ได้ เช่น การจัดวางสิ่งของเพื่อตกแต่งบ้าน, การจัดสำนักงาน,การจัดโต๊ะอาหาร, จัดสวน, การออกแบบปกรายงาน, ตัวอักษร, และการจัดบอร์ดกิจกรรมต่างๆ สามารถนำไปใช้กับการออกแบบอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีซึ่งเหล่านี้ เราต้องอาศัยหลักองค์ประกอบศิลป์ทั้งสิ้น
องค์ประกอบศิลป์ เป็นเรื่องที่ผู้เรียนศิลปะทุกคนต้องเรียนรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะนำไปใช้ได้ให้เกิดประสิทธิภาพในการออกแบบโครงสร้างหรือรูปร่างของภาพ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบต่างๆ ได้ เช่น การจัดวางสิ่งของเพื่อตกแต่งบ้าน, การจัดสำนักงาน,การจัดโต๊ะอาหาร, จัดสวน, การออกแบบปกรายงาน, ตัวอักษร, และการจัดบอร์ดกิจกรรมต่างๆ สามารถนำไปใช้กับการออกแบบอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีซึ่งเหล่านี้ เราต้องอาศัยหลักองค์ประกอบศิลป์ทั้งสิ้น
หลักการจัดองค์ประกอบพื้นฐาน
1. เอกภาพ
(Unity) หมายถึง
การนำองค์ประกอบของศิลปะมาจัดเข้าด้วยกันให้แต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์
เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ประสานกลมกลืนเกิดเป็นผลรวมที่แบ่งแยกไม่ได้
โดยถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะด้วยกระบวนการศิลปะ
2. ดุลยภาพ (Balance) คือ
การนำองค์ประกอบของศิลปะมาจัดเข้าด้วยกันให้เกิดความเท่ากันหรือสมดุล
โดยมีเส้นแกนสมมุติ 2 เส้น เป็นตัวกำหนดดุลยภาพ
เส้นแกนสมมุติจะทำหน้าที่แบ่งภาพออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวา หรือด้านบนหรือด้านล่าง
เพื่อให้ผลงานศิลปะที่ปรากฏเกิดความสมดุลในลักษณะใดลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น
แบบซ้าย ขวา เหมือนกันและแบบซ้าย ขวา
ไม่เหมือนกันอีกทั้งการจัดภาพที่มีความพอดีและเหมาะสม
ให้เกิดน้ำหนักการจัดวางซ้ายขวาทั้งสองข้างเท่ากัน โดยแบ่งความสมดุลออกเป็น 2 ประเภท
(1) ความสมดุลแบบสองข้างไม่เท่ากัน
เป็นการจัดการองค์ประกอบศิลป์ที่ไม่เท่ากัน หรือไม่เหมือนกัน
แต่เท่ากันด้วนความรู้สึก โดยดูจากน้ำหนักส่วนรวมของภาพ
(2) ความสมดุลแบบสองข้างเท่ากัน เป็นการจัดวางองค์ประกอบให้มีน้ำหนักเท่ากัน
โดยส่วนมากจะปรากฏในจิตกรรมไทย หรือภาพที่แสดงสัญลักษณ์ไทย
3. จุดเด่น (Dominance) หมายถึง
ส่วนสำคัญที่ปรากฏชัด สะดุดตาที่สุดในงานศิลปะ
จุดเด่นจะช่วยสร้างความน่าสนใจในผลงานให้ภาพเขียนมีความสวยงาม มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น
จุดเด่นเกิดจากการจัดวางที่เหมาะสม และรู้จักการเน้นภาพ (Emphasis) ที่ดี จุดเด่นมี 2 แบบ คือ(1) จุดเด่นหลัก เป็นภาพที่มีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องที่จะเขียน แสดงออกถึงเรื่องราวที่ชัดเจน เด่นชัดที่สุดในภาพ
(2) จุดเด่นรอง เป็นภาพประกอบของจุดเด่นหลัก ทำหน้าที่สนับสนุนจุดเด่นหลัก ให้ภาพมีความสวยงามยิ่งขึ้น
4. ความขัดแย้ง (Contrast) หมายถึง ความไม่ประสานสัมพันธ์กันหรือไม่เข้ากัน เช่น เส้นที่แตกต่างกัน รูปร่างหรือรูปทรงที่แตกต่างกันทั้งลักษณะรูปแบบและขนาด ลักษณะผิวหยาบ กับผิวละเอียด สีตรงกันข้าม หรือสีตัดกัน เป็นต้น
5. ความกลมกลืน (Harmony) หมายถึง ลักษณะการประสานสัมพันธ์กันขององค์ประกอบศิลป์ต่าง ๆ เช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง ขนาด สัดส่วน ค่าน้ำหนัก ลักษณะผิว จังหวะ บริเวณว่าง สี เมื่อนำมาประกอบกันแล้วต้องสนับสนุนกัน เข้ากันได้ดี ไม่ขัดแย้งกัน
Mononoke Hime by Astri-Lohne
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น