หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 3 เริ่มต้นกับ Photoshop Cs6

บทที่  3
เริ่มต้นกับ  Photoshop Cs6

ทำความรู้จักกับ Photoshop
โปรแกรม Photo shop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe ที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพถ่ายและภาพกราฟิก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และงานด้านมัลติมีเดีย อีกทั้งยังสามารถ retouching ตกแต่งภาพและการสร้างภาพ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมสูงมากในขณะนี้ เราสามารถใช้โปรแกรม Photoshop ในการตกแต่งภาพ การใส่ Effect ต่าง ๆให้กับภาพ และตัวหนังสือ การทำภาพขาวดำ การทำภาพถ่ายเป็นภาพเขียน การนำภาพมารวมกัน การ Retouch ตกแต่งภาพต่าง

ความสามารถพื้นฐานของ Adobe Photoshop ที่ควรทราบ
·       ตกแต่งหรือแก้ไขรูปภาพ
·       ตัดต่อภาพบางส่วน หรือที่เรียกว่า crop ภาพ
·       เปลี่ยนแปลงสีของภาพ จากสีหนึ่งเป็นอีกสีหนึ่งได้
·       สามารถลากเส้น แบบฟรีสไตล์ หรือใส่รูปภาพ สี่เหลี่ยม วงกลม หรือสร้างภาพได้อย่างอิสระ
·       มีการแบ่งชั้นของภาพเป็น Layer สามารถเคลื่อนย้ายภาพได้เป็นอิสระต่อกัน
·       การทำ cloning ภาพ หรือการทำภาพซ้ำในรูปภาพเดียวกัน
·       เพิ่มเติมข้อความ ใส่ effect ของข้อความได้
·       Brush หรือแปรงทาสี ที่สามารถเลือกรูปแบบสำเร็จรูปในการสร้างภาพได้และอื่นๆ อีกมากมา
ส่วนสำคัญหลักที่ที่ต้องรู้ดังนี้
เมนูของโปรแกรม Application menu หรือ Menu bar ประกอบด้วย
     1. File หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้จัดการกับไฟล์รูปภาพ เช่น สร้างไฟล์ใหม่, เปิด, ปิด, บันทึกไฟล์, นำเข้าไฟล์, ส่งออกไฟล์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับไฟล์
     2. Edit หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้สำหรับแก้ไขภาพ และปรับแต่งการทำงานของโปรแกรมเบื้องต้น เช่น ก๊อปปี้, วาง, ยกเลิกคำสั่ง, แก้ไขเครื่องมือ และอื่น ๆ
     3. Image หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้ปรับแต่งภาพ เช่น สี, แสง, ขนาดของภาพ (image size), ขนาดของเอกสาร (canvas), โหมดสีของภาพ, หมุนภาพ และอื่น ๆ
     4. Layer หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้จัดการกับเลเยอร์ ทั้งการสร้างเลเยอร์, แปลงเลเยอร์ และการจัดการกับเลเยอร์ในด้านต่าง ๆ
     5. Select  รวม คำสั่งเกี่ยวกับการเลือกวัตถุหรือพื้นที่บนรูปภาพ (Selection) เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับคำสั่งอื่น ๆ เช่น เลือกเพื่อเปลี่ยนสี, ลบ หรือใช้เอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ กับรูปภาพ
     6. Filter เป็นคำสั่งการเล่น Effects ต่างๆสำหรับรูปภาพและวัตถุ
     7. View เป็นคำสั่งเกี่ยวกับมุมมองของภาพและวัตถุในลักษณะต่างๆ เช่น การขยายภาพและย่อภาพให้ดูเล็ก
     8. Window  เป็นส่วนคำสั่งในการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆที่จำเป็นในการใช้สร้าง Effects ต่างๆ
     9. Help เป็นคำสั่งเพื่อแนะนำเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมฯและจะมีลายละเอียดของโปรแกรมอยู่ในนั้น


อ้างอิงบทความ  http://teacherjaray.blogspot.com/2014/05/blog-post.html


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานกราฟิก

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานกราฟิก
เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างงานกราฟิกได้หลายประเภท ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์มากมายที่ถูกนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช่ในงานกราฟิกที่พบเห็นบ่วย ๆ มีดังนี้
กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
          เราสามารถใช้กล้องดิจิตอลถ่ายรูปแบบดิจิตอลความละเอียดสูงกว่า 3 ล้านพิกเซลขึ้นไป ซึ่งภาพลักษณะนี้เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์
 สแกนเนอร์ (Scanner)
          สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและแปลงภาพจากภาพจากภาพบนกระดาษ (Physical Image) เป็นไฟล์ภาพดิจิตอล (Digital Image)
กล้องดิจิตอลและเครื่องสแกนเนอร์

จอสัมผัส (Touch Screen)
          จอสัมผัส เป็นหน้าจอที่ยอมให้ผู้ใช้ใช้นิ้วสัมผัสหน้าจอ เพื่อเลือกเมนูบนหน้าจอได้ งานที่นิยมใช้หน้าจอนี้ เช่น เครื่อง ATM เป็นต้น
ปากกาแสง (Light Pan)
          ปากกาแสง เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่ทำงานด้วยการตรวจจับแสงบนหน้าจอ CRT ของคอมพิวเตอร์ ใช้ในการคลิกเลือกและวาดบนหน้าจอเหมือนกับการใช้ Touch Screen แต่จะทำงานด้วยการตรวจจับแสงซึ่งใช้กับหน้าจบ LCD หรือ Projector ได้
จอสัมผัสและปากกาแสง
เครื่องพิมพ์ (Printer)
          เครื่องพิมพ์ใช้แสดงผลงานลงบนกระดาษได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ ปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบเพื่อนำไปใช้งานต่างกันดังนี้
          1.  เลเซอร์พรินเตอร์ (Laser Printer) ทำงานโดยการยิงเลเซอร์เพื่อจัดเรียงผงหมึกให้เกิดเป็นภาพที่ต้องการ จากนั้นก็ใช้แรงดันและความร้อนผลักให้หมึกจับตัวติดกับเนื้อกระดาษ ผลลัพธ์จะมีความละเอียดมากที่สุด เครื่องพิมพ์เลเซอร์มี 2 แบบ คือ ขาว/ดำ และสี ซึ่งแบบขาว/ดำ นิยมใช้งานพิมพ์เอกสารในงานสำนักงานซึ่งเหมาะกับงานกราฟิกชั้นสูง
          2.  อิงก์เจ็ตพรินเตอร์ (Inkjet Printer) ใช้หลักการพ่นหมึกผ่านท่อพ่นหมึกเล็ก โดยให้เกิดจุดสีเล็ก ๆ เรียงต่อกันเกิดเป็นภาพ จะมีความละเอียดน้อยกว่าเลเซอร์ ราคาเครื่องถูก แต่หมึกแพง และพิมพ์ช้ากว่าเลเซอร์ เหมาะสำหรับงานสี อาร์ตเวิร์ค สิ่งพิมพ์ และถ่ายสติ๊กเกอร์ หากใช้พิมพ์งานเอกสารที่เป็นสีขาวดำ เมื่อเปรียบเทียบราคาคุณภาพแล้วเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์จะดีกว่า
          3.  ดอตเมทริกซ์พรินเตอร์ (Dot Matrix Printer) จะใช้หัวเข็มกระแทกลงแผ่นคาร์บอน ทำให้เกิดรอยหมึกเป็นข้อความและภาพ ราคาหมึกถูก ข้อเสียคือพิมพ์ช้าและเสียงดัง
เครื่องพิมพ์


อ้างอิงบทความ  https://sites.google.com/site/artcompositionforcomputer005/home



ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิก

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิก

  • ·         ใช้แสดงผลงานด้วยภาพแทนการแสดงด้วยข้อความ ซึ่งช่วยให้เข้าใจได้ง่าย และน่าสนใจมากกว่า หลายหน่วยงานเลือกใช้วิธีนี้สำหรับแนะนำหน่วยงาน เสนอโครงการและแสดงผลงาน 
  • ·         ใช้แสดงแผนที่ แผนผัง และภาพของสิ่งต่างๆ ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่สามารถแสดงในลักษณะอื่นได้ นอกจากการแสดงด้วยภาพเท่านั้น 
  • ·         ใช้ในการออกแบทางด้านต่างๆ เช่น ออกแบบบ้าน รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า และเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ ซึ่งสามารถทำได้รวดเร็วสวยงามและประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะงานออกแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเพื่อเปรียบเทียบหาแบบที่เหมาะสมที่สุด การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกจะช่วยให้เกิดความสะดวก และทำได้รวดเร็วมาก 
  • ·         ได้มีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาช่วยทางการด้านเรียนการสอน โดยเฉพาะในวิชาที่ต้องใช้ภาพ แผนผัง หรือแผนที่ประกอบ บทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถแสดงภาพส่วนประกอบและการทำงานของเครื่องยนต์ หรือเครื่องมือที่มีความสลับซับซ้อนให้เห็นได้ง่ายขึ้น
  • ·         คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการจำลองสถานการณ์เพื่อหาคำตอบว่า ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ใช้ทดสอบว่าถ้ารถยนต์รุ่นนี้พุ่ง เข้าชนกำแพงด้วยความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเกิดความเสียหายที่บริเวณไหน ผู้โดยสารจะเป็นอย่างไร การจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยให้ทราบผลได้รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่ทำให้เกิดอันตราย 
  • ·         คอมพิวเตอร์กราฟิกสามารถนำมาสร้างภาพนิ่ง ภาพสไลด์ ภาพยนต์ และรายการวิดีโอ ได้มีภาพยนต์แนววิทยาศาสตร์หลายเรื่องใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกสร้างฉากและตัวละคร ซึ่งทำให้ดูสมจริงได้ดีกว่าการสร้างด้วยวิธีอื่น 
  •     คอมพิวเตอร์กราฟิกที่มีผู้รู้จัก และนิยมใช้กันมากคงจะได้แก่ เกมส์คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้คงมีคนจำนวนน้อยเท่านั้นที่ไม่เคยเห็นหรือรู้จักเกมส์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้เกมส์สนุกและน่าสนใจก็คือ ภาพของฉากและตัวละครในแกมซึ่งสร้างโดยคอมพิวเตอร์กราฟิก





การประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก

การประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก
การประมวลภาพแบบ Vector
การประมวลผลภาพแบบ Vector เป็นการประมวลผลแบบอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์โดยมีสีและตำแหน่งของสีที่แน่นอน ฉะนั้นไม่ว่าเราจะมีการเคลื่อนย้ายหรือย่อขนาดของภาพ ภาพก็จะไม่เสีบรูปทรงในเชิงเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น โลโก้ ตัวการ์ตูน เป็นต้น โดยโปรแกรมที่มีการประมวลภาพแบบเวกเตอร์ ได้แก่ Illustrator และ CorelDraw



การประมวลภาพแบบ Bitmap
การประมวลภาพแบบ Bitmap เป็นการประมวลผลแบบอาศัยการอ่านค่าสีในแต่ละพิเซลมีชื่อเรียกอย่างหนึ่งว่า Raster Image โดยแต่ละพิกเซลจะมีการก็บค่าสีที่เจาะลงในแต่ละตำแหน่ง ซึ่งเหมาะกับภาพที่มีลักษณะแบบภาพถ่าย โปรแกรมที่มีการประมวลผลภาพแบบบิตแมพ ได้แก่ Photoshop และ Paint เป็นต้น




อ้างอิงบทความ  https://sites.google.com/site/artcompositionforcomputer005/home

หน่วยที่ 2 พื้นฐานคอมพิวเตอร์กราฟิก

หน่วยที่ 2
พื้นฐานคอมพิวเตอร์กราฟิก

ความหมายของคอมพิวเตอร์ในงานกราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
ภาพกราฟิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-กราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์

-กราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds Max โปรแกรม Maya เป็นต้น


ตัวอย่างภาพที่เกิดบนเครื่องคอมพิวเตอร์



อ้างอิงบทความ  https://sites.google.com/site/xngkhprakxbsilp22042101/home

ความหมายของทัศนธาตุ

ความหมายของทัศนธาตุ
ทัศนธาตุ หมายถึง ธาตุแห่งการมองเห็นหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญในงานศิลปะหรือทัศนศิลป์ได้แก่ จุด เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำส่วนประกอบแต่ละอย่ามาสร้างเป็นงานศิลปะได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งก็จะให้ความรู้สึกในการมองเห็นที่แตกต่างกันไป ทัศนธาตุ สามารถสร้างอารมณ์ต่าง ๆ ให้กับคนดู จึงเป็นความรู้พื้นฐาน นับตั้งแต่ จุด เส้น รูปร่าง- รูปทรง แสง เงา น้ำหนักอ่อน – แก่ สี พื้นผิว มักมีปรากฏอยู่ในความงามอันละเอียดอ่อนของธรรมชาติ ทั้งสิ้น
ฉะนั้นการรู้จักสังเกตธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวและการรู้จักเลือกสรรส่วนประกอบจากธรรมชาติมาจัดองค์ประกอบทางศิลปะนั้น จึงเป็นวิธีที่ง่ายและดีที่สุดในการสร้างสรรค์งาน


องค์ประกอบของทัศนธาตุ
1. จุด (Dot)  หมายถึง  รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ  ปรากฎที่พื้นผิว  ซึ่งเกิดจากการจิ้ม กด กระแทก ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  เช่น ดินสอ ปากกา พู่กัน และวัสดุปลายแหลมทุกชนิด
          จุด เป็นต้นกำเนิดของเส้น รูปร่าง รูปทรง แสงเงา พื้นผิว ฯลฯ  เช่น  นำจุดมาวางเรียงต่อกันจะเกิดเป็นเส้น  และการนำจุดมาวาง
ให้เหมาะสม  ก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรง และลักษณะผิวได้  
2. เส้น (Line)  เป็นสิ่งที่มีผลต่อการรับรู้  เพราะทำให้เกิดความรู้สึกต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ เส้นเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปะทุกแขนง ใช้ร่างภาพเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เห็นและสิ่งที่คิดจินตนาการให้ปรากฎเป็นรูปภาพ
          เส้น (Line)  หมายถึง  การนำจุดหลาย ๆ จุดมาเรียงต่อกันไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นทางยาว  หรือสิ่งที่เกิดจากการขูด ขีด
เขียน ลาก  ให้เกิดเป็นริ้วรอย
               - เส้นนอน  ให้ความรู้สึกกว้างขวาง  เงียบสงบ  นิ่ง  ราบเรียบ  ผ่อนคลายสายตา
               - เส้นตั้ง  ให้ความรู้สึกสูงสง่า  มั่นคง  แข็งแรง  รุ่งเรือง
               - เส้นเฉียง  ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง  เคลื่อนไหว  รวดเร็ว  แปรปรวน
               - เส้นโค้ง  ให้ความรู้สึกอ่อนไหว  สุภาพอ่อนโยน  สบาย  นุ่มนวล  เย้ายวน
               - เส้นโค้งก้นหอย  ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว  การคลี่คลาย  ขยายตัว  มึนงง
               - เส้นซิกแซกหรือเส้นฟันปลา  ให้ความรู้สึกรุนแรง  กระแทกเป็นห้วง ๆ  ตื่นเต้น  สับสนวุ่นวาย  และการขัดแย้ง
               - เส้นประ  ให้ความรู้สึกไม่ต่อเนื่อง  ไม่มั่นคง  ไม่แน่นอน
เส้นกับความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางหนึ่ง  ไม่ใช่ความรู้สึกตายตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ร่วมกับส่วนประกอบอื่น ๆ  เช่น เส้นโค้งคว่ำลง  ถ้านำไปเขียนเป็นภาพปากในใบหน้าการ์ตูนรูปคน  ก็จะให้ความรู้สึกเศร้า  ผิดหวัง  เสียใจ  แต่ถ้าเป็นเส้นโค้งหงายขึ้น  ก็จะให้ความรู้สึกอารมณ์ดี  เป็นต้น
3. รูปร่างและรูปทรงรูปร่าง (Shape)  หมายถึง เส้นรอบนอกทางกายภาพของวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ คน สัตว์ และ พืช มีลักษณะเป็น 2 มิติ  มีความกว้าง  และความยาว
          รูปร่าง  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  คือ
               - รูปร่างธรรมชาติ (Natural Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น  คน  สัตว์  และพืช  เป็นต้น
               - รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีโครงสร้างแน่นอน  เช่น  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม  และรูปวงกลม  เป็นต้น
               - รูปร่างอิสระ (Free Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์  ให้ความรู้สึกที่เป็นเสรี  ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนของตัวเอง  เป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม  เช่น  รูปร่างของหยดน้ำ  เมฆ  และควัน  เป็นต้น
          รูปทรง (Form)  หมายถึง  โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฎแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ  คือมีทั้งส่วนกว้าง  ส่วนยาว  ส่วนหนาหรือลึก  คือ  จะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง  มีเนื้อที่ภายใน  มีปริมาตร  และมีน้ำหนัก 

4. น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value)  หมายถึง  จำนวนความเข้ม  ความอ่อนของสีต่าง ๆ  และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้  เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว-ดำ  ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ  เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง

5. สี (Colour)  หมายถึง  สิ่งที่ปรากฎอยู่ทั่้วไปรอบ ๆ ตัวเรา  ไม่ว่าจะเป็นสีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  สีทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างมากมาย  เช่น  ทำให้รู้สึกสดใส  ร่าเริง  ตื่นเต้น  หม่นหมอง  หรือเศร้าซึมได้  เป็นต้น 
สีและการนำไปใช้ 
               5.1 วรรณะของสี (Tone)  จากวงจรสีธรรมชาติ ในทางศิลปะได้มีการแบ่งวรรณะของสีออกเป็น 2 วรรณะ  คือ
                    - สีวรรณะร้อน   ( Warm Tone ) ได้แก่สีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นหรือร้อน  เช่น  สีเหลือง  ส้มเหลือง  ส้ม  ส้มแดง  แดง  ม่วงแดง  เป็นต้น 
                         สีแดง           กล้าหาญ อันตราย เร้าใจ สะดุดตา
                         สีเหลือง       สว่างที่สุด บริสุทธิ์ แจ่มใส เลื่อมใส
                         สีส้ม            ร้อนแรง สนุกสนาน รื่นเริง เปรี้ยว
                     - สีวรรณะเย็น  ( Cold Tone )ได้แก่  สีที่ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบาย  เช่น  สีเขียว  เขียวเหลือง  เขียวน้ำเงิน  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง  เป็นต้น
                         สีน้ำเงิน       สงบ สุขุม สันติภาพ ภูมิฐาน
                         สีเขียว         ความหวัง สดชื่น ชุ่มชื่น ร่มเย็น
                         สีม่วง           ร่ำรวย โอ่อ่า งอกงาม
                         สีขาว          สะอาด บริสุทธิ์ กระจ่างแจ้ง มั่นคง เบา
                         สีดำ            เศร้า ความตาย หนัก
               5.2 ค่าของสี (Value of colour)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งทำให้ค่อย ๆ จางลงจนขาวหรือสว่างและทำให้ค่อย ๆ เข้มขึ้นจนมืด
               5.3 สีเอกรงค์ (Monochrome)  หมายถึง  สีที่แสดงอิทธิพลเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว  หรือใช้เพียงสีเดียวในการเขียนภาพ โดยให้ค่าของสีอ่อน กลาง แก่  คล้ายกับภาพถ่าย ขาว ดำ
               5.4 สีส่วนรวม (Tonality)  หมายถึง  สีใดสีหนึ่งที่ให้อิทธิพลเหนือสีอื่นทั้งหมด  เช่น  การเขียนภาพทิวทัศน์  ปรากฎสีส่วนรวมเป็นสีเขียว สีน้ำเงิน  เป็นต้น
               5.5 สีที่ปรากฎเด่น  (Intensity)
               5.6 สีตรงข้ามกันหรือสีตัดกัน (Contrast)  หมายถึง  สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงจรสีธรรมชาติ  เช่น  สีแดงกับสีเขียว  สีน้ำเงินกับสีส้ม  สีม่วงกับสีเหลือง
น้ำหนักสี ( Tone ) หรือวรรณะของสี หมายถึง ระดับความเข้มที่แตกต่างกันของสีหรือค่าความอ่อนแก่ของสี ไล่ระดับกันไป เช่น ดำ – เทาเข้ม – เทากลาง – เทาอ่อน – ขาว โทนก็มีผลต่อความรู้สึกคล้ายกับสีนั่นเอง เพียงแต่จะละเอียดอ่อนมากขึ้น มีค่าความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์ เช่น
6. บริเวณว่าง (Space)  หมายถึง  บริเวณที่เป็นความว่างไม่ใช่ส่วนที่เป็นรูปทรงหรือเนื้อหาาในกาารจัดองค์ประกอบใดก็ตาม  ถ้าปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากและให้มีรูปทรงน้อย การจัดนั้นจะให้ความรู้สึกอ้างอ้าง โดดเดี่ยว
7. พื้นผิว (Texture) หมายถึง พื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น พื้นผิวของวัตถุที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันด้วย



อ้างอิงบทความ  http://patdramaa111.srp.ac.th/thasn-thatu

ความหมายของทัศนศิลป์

ความหมายของทัศนศิลป์
            ทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา ศิลปะที่มองเห็น เมื่อพิจารณาความหมายที่มีผู้นิยามไว้ จะพบว่าการรับรู้เรื่องราว อารมณ์ ความรู้สึกของงานทัศนศิลป์นั้น จะต้องอาศัยประสาทตาเป็นสำคัญ นั่นคือตาจะรับรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่นำมาประกอบเป็นงานทัศนศิลป์ได้แก่ เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงา และพื้นผิว เป็นต้น โดยศิลปะจะนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาสร้างสรรค์ผลงานด้วยวิธีการเขียนภาพ ระบายสีบ้าง ปั้นและสลักบ้างหรืองานโครงสร้างเป็นต้น
การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางศิลปะได้นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถ ทักษะและความคิดของศิลปินแต่ละคน งานทัศนศิลป์ที่ปรากฏให้เห็นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
ทัศนศิลป์ 2 มิติ ได้แก่ ผลงานการเขียนภาพระบายสี
ทัศนศิลป์ 3 มิติ ได้แก่ ผลงานประติมากรรม สถาปัตยกรรม


แยกประเภทได้ดังนี้
1. จิตรกรรม หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบด้วยวิธีการลาก การระบายสีลงบนพื้นผิววัสดุที่มีความราบเรียบ เช่นกระดาษ ผ้าใบ แผ่นไม้ เป็นต้น เพื่อให้เกิดเรื่องราวและความงามตามความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการของผู้วาด จำแนกออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
        - ภาพวาด (drawing) เป็นศัพท์ทางทัศนศิลป์ที่ใช้เรียกภาพวาดเขียน ภาพวาดเส้น แบบเป็น 2 มิติ คือ มีความกว้างและความยาว โดยใช้วัสดุต่างๆ เช่น ดินสอดำ สีไม้ สีเทียน เป็นต้น
        - ภาพเขียน (painting) เป็นการสร้างงาน 2 มิติ บนพื้นระนาบด้วยสีหลายสี เช่น การเขียนภาพด้วยสีน้ำ สีดินสอ สีน้ำมัน เป็นต้น
2. ประติมากรรม (sculpture)  หมายถึง การสร้างงานทัศนศิลป์ที่เกิดจากกรปั้น การแกะสลัก การหล่อ การเชื่อม เป็นต้น โดยมีลักษณะ 3 มิติ คือ มีความกว้าง ความยาว และความหนา เช่นรูปคน รูปสัตว์ รูปสิ่งของ เป็นต้น ประติมากรรมจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
        - แบบนูนต่ำ (bas-relief) เป็นการปั้นหรือสลักโดยให้เกิดภาพที่นูนขึ้นจากพื้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น รูปบนเหรียญต่างๆ (เหรียญบาท เหรียญพระห้อยคัว) เป็นต้น
        - แบบนูนสูง (high- relief) เป็นการปั้นหรือสลักให้รูปที่ต้องการนูนขึ้นจากพื้นหลังมากกว่าครึ่งเป็นรูปที่สามารถแสดงความตื้นลึกตามความเป็นจริง เช่น ประติมากรรมที่ฐานอนุสาวรีย์ เป็นต้น
        - แบบลอยตัว (round- relief) เป็นการปั้นหรือสลักที่สามารถมองเห็นและสัมผัส ชื่นชมความงามของผลงานได้ทุกด้านหรือรอบด้าน เช่นพระพุทธรูป เป็นต้น
3. สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง ศิลปะและวิทยาการแห่งการก่อสร้างที่นำมาทำเพื่อสนองวามต้องการในด้านวัตถุและจิตใจ มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างอย่างงดงาม จำแนกออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
        - แบบเปิด หมายถึง สถาปัตยกรรมที่มนุษย์สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่น อาคารเรียน ที่พักอาศัย เป็นต้น
        - แบบปิด หมายถึง สถาปัตยกรรมที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่นสถูป เจดีย์ 
4. ภาพพิมพ์ (Printing)  หมายถึง ผลงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการพิมพ์ ด้วยการกดแม่พิมพ์ให้ติดเป็นภาพบนกระดาษ เช่นแม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ เป็นต้น ภาพพิมพ์สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
    - พิมพ์ผิวนูน (Relief process) เป็นกระบวนการพิมพ์ให้เกิดส่วนลึกและนูนหรือมีความแตกต่างทางผิวพื้นของแม่พิมพ์ด้วยการแกะ หล่อ กัดด้วยกรด หรือวิธีอื่นๆ เช่น ภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพพิมพ์โลหะ เป็นต้น
    - พิมพ์ร่องลึก (intaglio process) เป็นการพิมพ์ที่ตรงกันข้ามกับกระบวนการพิมพ์ผิวนูน ได้แก่ เอทชิง เป็นต้น
    - พิมพ์พื้นราบ (planographic process) กลวิธีนี้รู้จักในนามของภาพพิมพ์หิน
    - พิมพ์ฉากพิมพ์ (serigraphic process) การพิมพ์แบบนี้ที่รู้จักกันดีคือการพิมพ์ตัดกระดาษ เป็นต้น



อ้างอิงบทความ  http://theartrnm.blogspot.com/p/blog-page_7373.html